ประวัติความเป็นมา

          มหาวิทยาลัย รามคำแหง ได้รับการสถาปนาเป็นสถาบันอุดมศึกษาของรัฐมาตั้งแต่ พ.ศ. 2514 ณ บริเวณที่ดินทั้งหมดประมาณ 300 ไร่เศษ บนถนนรามคำแหง แขวงหัวหมาก เขตบางกะปิ กรุงเทพฯ โดยพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยรามคำแหง พ.ศ. 2514 กำหนดให้มหาวิทยาลัยรามคำแหงเป็นสถาบันการศึกษาและวิจัยแบบตลาดวิชา มีวัตถุประสงค์ในการศึกษาวิชาการและวิชาชีพชั้นสูง ทำการวิจัย ส่งเสริมวิชาการชั้นสูง และทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม

          ด้วย ความตระหนักในพันธกิจที่มหาวิทยาลัยมีต่อประเทศชาติและสังคม ที่ได้พัฒนาเข้าสู่สังคมโลกาภิวัตน์ ทำให้วิถีชีวิตของประชาชนเปลี่ยนแปลงไป และอาจส่งผลให้เกิดปัญหาสุขภาพที่เกี่ยวข้องกับวิถีชีวิตและคุณภาพชีวิตที่ สลับซับซ้อนขึ้น โดยเฉพาะในด้านสุขภาพตาและปัญหาสายตา ประกอบกับกระทรวงสาธารณสุข ได้มีประกาศกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 2 (พ.ศ. 2546) เรื่อง การอนุญาตให้บุคคลทำการประกอบโรคศิลปะโดยอาศัยทัศนมาตรศาสตร์ สภามหาวิทยาลัยรามคำแหง ในการประชุมครั้งที่ 6/2544 วันที่ 16 กรกฎาคม 2544 ได้มีมติอนุมัติการจัดตั้งสถาบันวิทยาศาสตร์สุขภาพ และอนุมัติการเรียนการสอนหลักสูตรทัศนมาตรศาสตรบัณฑิต เป็นแห่งแรกในประเทศไทย โดยได้รับความร่วมมือทางวิชาการจาก Indiana University School of Optometry ประเทศสหรัฐอเมริกา ในการส่งคณาจารย์ ผู้เชี่ยวชาญมาสอนในหลักสูตรดังกล่าว และให้คำปรึกษาในด้านการบริหารหลักสูตร

          ต่อ มา ในปี พ.ศ. 2555 มหาวิทยาลัยรามคำแหง ได้พิจารณาแล้วเห็นว่า หลักสูตรทัศนมาตรศาสตรบัณฑิต ได้เปิดสอนมาแล้วกว่า 10 ปี มีบัณฑิตที่สำเร็จการศึกษาเป็นนักทัศนมาตรศาสตร์ไปรับใช้สังคมแล้ว กว่า 50 คน มีลักษณะการเรียนการสอนที่เข้มแข็ง เป็นที่ยอมรับของสังคมทั้งในระดับประเทศ ได้รับการรับรองทั้งจากสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) และสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน (กพ.) และเป็นที่ยอมรับในระดับนานาชาติ เป็นตัวอย่างของหลักสูตรทัศนมาตรศาสตรบัณฑิต ให้กับสถาบันการศึกษาอื่นๆ ในการผลิตนักทัศนมาตรศาสตร์ที่มีคุณภาพ ตามมาตรฐานสากล สภามหาวิทยาลัยรามคำแหง ในการประชุมครั้งที่ 14/2555 เมื่อวันที่ 19 พฤศจิกายน 2555 จึงมีมติอนุมัติให้แยกหลักสูตรทัศนมาตรศาสตรบัณฑิต ออกจากสถาบันวิทยาศาสตร์สุขภาพ และให้จัดตั้งเป็น “คณะทัศนมาตรศาสตร์” โดยมีรูปแบบการจัดองค์กร ดังนี้

          1. สำนักงานเลขานุการคณะ
          2. สาขาวิชาทัศนมาตรศาสตร์ ทำหน้าที่บริหารหลักสูตรดังต่อไปนี้
              2.1 หลักสูตรปริญญาตรี ได้แก่ หลักสูตรทัศนมาตรศาสตรบัณฑิต โดยได้รับความร่วมมือทางวิชาการจาก Indiana University School of Optometry ประเทศสหรัฐอเมริกา
              2.2 หลักสูตรปริญญาโทและหลักสูตรปริญญาเอก ด้านทัศนวิทยาศาสตร์ (Vision Science) เพื่อผลิตนักวิชาการ นักวิจัย ที่มีความรู้ความสามารถด้านวิทยาศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับระบบการมองเห็น (อยู่ระหว่างการพัฒนาหลักสูตร และยังไม่เปิดรับนักศึกษา)
              2.3 หลักสูตรวุฒิบัตรผู้เชี่ยวชาญทัศนมาตรศาสตร์ เฉพาะด้านต่างๆ สำหรับนักทัศนมาตรศาสตร์ทั่วไป ที่ต้องการเพิ่มพูนความรู้ความสามารถทางคลินิกเฉพาะทาง (อยู่ระหว่างการพัฒนาหลักสูตร และยังไม่เปิดรับนักศึกษา)
          3. คลินิกทัศนมาตรศาสตร์ ทำหน้าที่ให้บริการทางวิชาการและวิชาชีพแก่สังคม ในการตรวจ รักษา และให้คำปรึกษาด้านสุขภาพสายตา 

นโยบายการใช้ Cookies

เราอาจจะเราใช้คุกกี้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการให้บริการและปรับปรุงบริการ โปรดคลิก "ยอมรับ" (ปุ่มสีเขียว) ในการเปิดใช้งาน Cookies และสามารถคลิก "นโยบายการใช้ Cookies" เพื่ออ่านรายละเอียดเพิ่มเติม